?
สืบเนื่องจากปีงบประมาณ 2557 กรมอนามัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ประสานความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการบูรณาการเกณฑ์ประเมินรับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมกับแบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้กำหนดให้มีเกณฑ์จำนวนระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย? 1 : การจัดการสุขาภิบาลอาหาร ?2 : การจัดการคุณภาพน้ำบริโภค 3 : การจัดการสิ่งปฏิกูล และ 4 : การจัดการมูลฝอย ไว้ในเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านที่ 4 ด้านการบริการสาธารณะ หัวข้อประเมินที่ 9 ด้านงานสาธารณสุข หัวข้อย่อยที่ 9.7 ผ่านการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารและด้านการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค หัวข้อย่อยที่ 9.8 ผ่านการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและด้านการจัดการมูลฝอย
?????????????????? เทศบาลนครรังสิต โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้สมัครเข้าร่วมเพื่อรับการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2558 จำนวน 9 ด้าน 19 ประเด็นย่อย ซึ่งในครั้งนี้ได้ตรวจประเมิน จำนวน 3 ด้าน 8 ประเด็นย่อย ได้แก่ ประเด็นงานที่ 1 : การจัดการสุขาภิบาลอาหารในตลาด รหัสการรับรอง EHA : 1002 ?ประเด็นงานที่ 2 : การจัดการสุขาภิบาลอาหารในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ รหัสการรับรอง EHA : 1003 ?ประเด็นงานที่ 3 : การจัดการคุณภาพน้ำประปา (ผลิตโดยหน่วยงานอื่น) รหัสการรับรอง EHA : 2002 ?ประเด็นงานที่ 4 : การจัดการคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ รหัสการรับรอง EHA : 2003 ประเด็นงานที่ 5 : การจัดการสิ่งปฏิกูล รหัสการรับรอง EHA : 3002 ?ประเด็นงานที่ 6 : การจัดการมูลฝอยทั่วไป รหัสการรับรอง EHA : 4001 ประเด็นงานที่ 7 : การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ รหัสการรับรอง EHA : 4002 และ ประเด็นงานที่ 8 : การจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน รหัสการรับรอง EHA : 4003 ?ซึ่งทั้ง 8 ประเด็นงานที่รับตรวจ สรุปผลการตรวจประเมินมาตรฐานฯ ดังนี้ ?(1) ผ่านการประเมินระดับเกียรติบัตรจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ประเด็นงานที่ 1 : การจัดการสุขาภิบาลอาหารในตลาด ผ่านการตรวจประเมินฯมาตรฐานฯร้อยละ 87.86? ประเด็นงานที่ 2 : การจัดการสุขาภิบาลอาหารในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผ่านการตรวจประเมินฯมาตรฐานฯร้อยละ 92.50? ประเด็นงานที่ 3 : การจัดการคุณภาพน้ำประปา (ผลิตโดยหน่วยงานอื่น)? ผ่านการตรวจประเมินฯมาตรฐานฯร้อยละ 82.00 ประเด็นงานที่ 4 : การจัดการคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ผ่านการตรวจประเมินฯมาตรฐานฯร้อยละ 82.50? และ ประเด็นงานที่ 6 : การจัดการมูลฝอยทั่วไป ผ่านการตรวจประเมินฯมาตรฐานฯร้อยละ 81.50? (2) ผ่านระดับพื้นฐาน 1 ด้าน คือ ประเด็นงานที่ 7 : การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ผ่านการตรวจประเมินฯมาตรฐานฯร้อยละ 75.00? และ (3) ไม่ผ่าน จำนวน 1 ด้าน คือ ประเด็นงานที่ 5 : การจัดการสิ่งปฏิกูล
?????????????????? การตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation : EHA) ในครั้งนี้ คณะกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานฯ เป็นเจ้าหน้าที่จากศูนย์อานามัยที่ 1 กรุงเทพฯ ?สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ รวมจำนวน 10 คน และภายหลังการตรวจประเมินแล้วเสร็จ นางสาวพลาพร? สมพรบรรจง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมลงนามในบันทึกสรุปผลการตรวจประเมินมาตรฐานฯร่วมกับคณะกรรมการเพื่อเป็นหลักฐานและใช้เป็นเอกสารประกอบการตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Core Team) ประจำปี 2558 ต่อไป
?
-
นายเพิ่มพงษ์ พุ่มวิเศษ
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม