การขออนุญาตประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง
-----------------------------------------------------------------------------
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ได้แก่ กิจการที่สามารถประกอบได้ทันทีตามความประสงค์ ของผู้ประกอบกิจการ (1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใด ชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ดังนี้
(1) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณไม่เกิน 40 ลิตร หรือ
(2) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร หรือ
(3) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร
ประเภทที่ 2 ได้แก่ กิจการที่เมื่อจะประกอบการต้องแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบก่อน (2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ดังนี้
(1) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือ
(2) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไฟปานกลาง มีปริมาณ ไม่เกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร
(3) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไว้ไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร
ประเภทที่ 3 ได้แก่ กิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะประกอบการได้ (3) ลักษณะที่ 3 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ดังนี้
(1) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 454 ลิตรขึ้นไป หรือ
(2) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณ เกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป หรือ
(3) สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 15,000 ลิตรขึ้นไป ทั้งนี้ ปริมาณทั้งหมดตาม (ก) (ข) และ (ค) รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 ลิตร
การแจ้งสำหรับการประกอบกิจการควบคุม
• ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.น 1
• การแจ้งให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานครให้แจ้ง ณ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(2) ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งสำนักงานพลังงานภูมิภาค หรือสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
• เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้วให้ออกใบรับแจ้งตามแบบ ธพ.น 2 กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้รายงานให้กรมธุรกิจพลังงานทราบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง
• การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ให้ แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.น1 ณ สถานที่แจ้งการประกอบกิจการ ควบคุมดังกล่าวข้างต้น
การอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการควบคุม
• ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแบบ ธพ.น 3
• การยื่นคำขอรับใบอนุญาต ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(2) ในเขตจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงาน พลังงานภูมิภาค หรือ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี
• ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้เป็นไปตามแบบ ธพ.น 4 กิจการ
• ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
• การออกใบอนุญาตให้แยกใบอนุญาตตามประเภทของการประกอบ
• หลักเกณฑ์วิธีการตรวจสอบและการพิจารณาออกใบอนุญาตควบคุมประเภทที่ 3 ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด
• การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามแบบ ธพ.น 5
• ใบอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบกิจการให้เป็นไป ตามแบบ ธพ.น 4
• กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนเคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่ใช้ประกอบกิจการ และประสงค์ให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้ออกใบอนุญาต ใบรับแจ้ง หรือใบรับรองการใช้อาคาร ควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการควบคุมประเภทที่ 3 ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวงแรงงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมต่อผู้อนุญาต ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
เอกสารประกอบการแจ้งและการขออนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนของผู้แจ้ง (กรณีบุคคลธรรมดา)
(2) หนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนารายละเอียดวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้แจ้ง)
(3) สำเนาหนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของบุคคลหรือนิติบุคคลผู้แจ้ง (กรณีตัวแทนของบุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้แจ้ง)
(4) สำเนาหรือภาพถ่าย โฉนดที่ดิน น.ส.3 น.ส.3ก ส.ค.1
(5) สำเนาเอกสารแสดงว่าผู้แจ้งมีสิทธิใช้ที่ดินหรือหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน
(6) สำเนาหนังสืออนุญาตพร้อมด้วยสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทำทางเชื่อมระหว่างบริเวณที่ได้รับอนุญาตกับถนนสาธารณะ ทางหลวง หรือถนนส่วนบุคคล เพื่อใช้เป็นทางสำหรับยานพาหนะเข้า-ออกสถานที่บริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่หนึ่ง เพื่อการจำหน่ายหรือขายหรือสำเนาหนังสืออนุญาต พร้อมด้วยสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ จากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและรับผิดชอบถนนสาธารณะ ทางหลวง ถนน ส่วนบุคคล หรือลำน้ำสายนั้น
(7) แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบกิจการ พร้อมทั้งแสดงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในรัศมี 50 เมตร จำนวน 3 ชุด
(8) แผนผังบริเวณของสถานที่ประกอบกิจการ จำนวน 3 ชุด
(9) แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ พร้อม ระบบท่อและอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด
(10) รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือ พื้นดินขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด
(11) หนังสือรับรองจากวิศวกรสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้คำนวณความ มั่นคง แข็งแรง ระบบความปลอดภัย และระบบควบคุมมลพิษของ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ และเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม พร้อมทั้งแนบภาพถ่ายใบอนุญาต
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จำนวน...........................ฉบับ
(12) อื่นๆ (ถ้ามี).............................................................
เอกสารประกอบการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภท ที่ 3
1. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
2. ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3
เลขที่.............................................ซึ่งจะหมดอายุลงใน.............
วันที่......................เดือน.............................พ.ศ...........................
3. เอกสารอื่นๆ...............................................................................
อัตราค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ใบแทนใบอนุญาต การอนุญาตให้ใช้ถังหรือภาชนะในการบรรจุหรือขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และการต่ออายุใบอนุญาตให้เรียกเก็บตามอัตรา ดังนี้
(1) คำขอ ฉบับละ 20 บาท
(2) ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ฉบับละ 200 บาท
(3) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท
(4) การอนุญาตให้ใช้ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่รวมถึงถังเก็บน้ำมัน เชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาตรของถัง ดังนี้
ก. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราถังละ 400 บาท ปริมาตรที่เกินจาก 100,00 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 5 บาทต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ข. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราถังละ 600 บาท ปริมาตรที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 60 บาทต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ค. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราถังละ 800 บาท ปริมาตรที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 80 บาทต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ง. ในกรณีที่มีการอนุญาตให้ใช้ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงอันมีลักษณะแบ่งเป็นช่องสำหรับใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟมาก ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงนี้ในอัตราของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟสูงสุด
(5) การอนุญาตให้ใช้ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาตรของถัง ดังนี้
ก. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราถังละ 200 บาท ปริมาตรที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 20 บาทต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ข. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราถังละ 250 บาท ปริมาตรที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 25 บาทต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ค. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราถังละ 300 บาท ปริมาตรที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียม ในอัตรา 30 บาท ต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ง.ในกรณีที่มีการอนุญาตให้ใช้ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินอันมีลักษณะแบ่งเป็นช่องสำหรับใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ชนิดไวไฟ ปานกลาง หรือชนิดไวไฟมาก ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง นี้ในอัตราของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟสูงสุด
(6) การอนุญาตให้ใช้ขวดน้ำมันเชื้อเพลิง หรือกระป๋องน้ำมันเชื้อเพลิงหรือถังน้ำมันเชื้อเพลิงภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ให้คิดค่าธรรมเนียม ตามปริมาณรวมของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด ดังนี้
ก. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ปริมาณรวมไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 200 บาท ปริมาณที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 20 บาท ต่อ ปริมาณ 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ข. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ปริมาณรวมไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 250 บาท ปริมาณที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 25 บาท ต่อ ปริมาณ 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ค. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาณรวมไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 300 บาท ปริมาณที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 30 บาท ต่อปริมาณ 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
(7) การอนุญาตให้ใช้ขวดน้ำมันเชื้อเพลิง กระป๋องน้ำมันเชื้อเพลิงหรือถังน้ำมันเชื้อเพลิงนอกจากที่เก็บภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้คิดค่าธรรมเนียมตามปริมาณรวมของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด ดังนี้
ก. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ปริมาณรวมไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 400 บาท ปริมาณที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 5 บาท ต่อปริมาตร 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ข. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ปริมาณรวมไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 600 บาท ปริมาณที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 60 บาท ต่อปริมาณ 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
ค. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาณรวมไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 800 บาท ปริมาณที่เกินจาก 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 80 บาท ต่อปริมาณ 10,000 ลิตร เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร
(8) การอนุญาตให้ใช้ถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณความจุน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 100,000 ลิตร ให้คิดค่าธรรมเนียมถังละ 250 บาท
(9) การต่ออายุใบอนุญาตให้คิดค่าธรรมเนียมตามอัตรา (2) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) แล้วแต่กรณี