คลองรังสิต
หรือ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองหลักในโครงการ
  พัฒนาที่ดินขนาดใหญ่  ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๘๘
 รัชสมัย
  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่สัมปทานประมาณ
  ๘๐๐,๐๐๐ - ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๕ จังหวัด ตั้งแต่จังหวัด
  ปทุมธานี บริเวณอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ
  และอำเภอลำลูกกา จังหวัดนครนายก ในเขตอำเภอองครักษ์
  กรุงเทพมหานคร บริเวณเขตหนองจอก และเขตบางเขน จังหวัด
  พระนครศรีอยุธยา ที่อำเภอวังน้อย และจังหวัดสระบุรี ที่อำเภอ
  หนองแค

     การเกิดขึ้นของคลองรังสิต เอิ้อคุณประโยชน์นานัปการ โดยเฉพาะ
  ทางการเกษตร ทำให้พื้นที่รกร้างบริเวณทุ่งหลวงเปลี่ยนเป็นแหล่ง
  เกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีข้าวเป็นผลผลิตหลัก รองรับการขยายตัว
  ของการส่งออกข้าว สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยขณะนั้น

     ระยะแรกเรียก "คลองเจ้าสาย" ตามพระนามพระวรวงษ์เธอ พระองค์
  เจ้าสายสนิทวงศ์ หรือ "คลองแปดวา" ตามความกว้างของคลอง
  ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
  พระราชทานนามว่า "รังสิตประยูรศักดิ์" (ต้นราชสกุล รังสิต) พระราช
  โอรสที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ พระธิดา
  ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

    คลองรังสิตซึ่งเป็นคลองสายหลักจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่
  หล่อเลี้ยงชีวิตคนรังสิต เป็นทั้งแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก เส้นทาง
  คมนาคม ตลอดจนใช้ในการอุปโภคและบริโภค แม้การพัฒนา
  อุตสาหกรรมได้ทำให้คลองรังสิตลดความสำคัญในฐานะคลองส่งน้ำ
  เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งไม่เป็นเพียงคลองชลประทานสำหรับระบายน้ำ

  แต่เส้นเลือดสายนี้ก็ยังคงทำหน้าที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนไม่เปลี่ยนแปร

bild